หุบเขาบะเซ็นเคียว (หินเทพเจ้า-หินเทพี)

หินคู่สามีภรรยาที่สูงตระหง่าน, หุบเขาแม่น้ำมาเบจิ, หน้าผาโอโฮกะเคะ และธรรมชาติอันงดงามที่ประดับประดาอยู่ทางเข้าทิศใต้ของเมืองนิโนะเฮะ

หุบเขาบะเซ็นเคียว (หินเทพเจ้า-หินเทพี)
จุดชมวิวเหนือผืนน้ำใสสะอาดของแม่น้ำมาเบจิ ที่ตั้งอยู่ที่ทางเข้าด้านทิศใต้ของเมืองนิโนะเฮะ ชื่อ "บะเซ็นเคียว" ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1950 โดย เคนคิจิ โคคุบุอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอิวาเตะ ซึ่งเป็นชาวเมืองนิโนะเฮะ พร้อมกันกับภูเขาโอริทสึเมะ ซึ่งต่อมาได้ถูกจัดตั้งให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติประจำจังหวัดในปี ค.ศ 1962บะเซ็นเคียว ประกอบไปด้วย ช่องเขาจากจุดที่แม่น้ำมาเบจิและแม่น้ำอัปปิมาบรรจบกันยาวมาจนถึงบริเวณปลายแม่น้ำมาเบจิ, หินเทพเจ้า-หินเทพีบนฝั่งซ้าย, และหน้าผาโอโฮกะเคะที่อยู่ฝั่งขวา ความสวยงามของธรรมชาติในทุกช่วงฤดูกาลช่วยดึงดูดผู้คนให้มาชมความงดงามนี้  ■หินเทพเจ้า-หินเทพี หินขนาดยักษ์ 2 ก้อน ได้แก่ หินเทพเจ้า (สูง 180 เมตรจากพื้นแม่น้ำด้านล่าง) และหินเทพี (สูง 160 เมตรจากพื้นแม่น้ำด้านล่าง) เกิดจากหินแอนดีไซต์เนื้อแข็งที่ถูกกัดเซาะมาเป็นเวลายาวนาน จนเกิดเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามในแง่ของขนาดที่นี่ถือเป็นหินคู่ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น บนหินเทพเจ้ามีจุดชมวิวที่สามารถชมวิวเมืองในแต่ละฤดูกาล ตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิสีเขียวขจี ไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วงที่มีใบไม้เปลี่ยนสีได้จากบนนี้   ■เมียวจินกะฟุจิบริเวณด้านล่างของหินเทพี เรียกว่า เมียวจินกะฟุจิ เป็นหนึ่งในจุดชมวิวที่สวยที่สุดในบะเซ็นเคียว คุณสามารถมองขึ้นไปเห็นหินเทพเจ้า-หินเทพี และมองเห็นหน้าผาโอโฮกะเคะที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำได้จากจุดนี้นอกจากนี้พื้นที่ทั้งหมดยังได้รับการดูแลในฐานะสวนสาธารณะ โดยมีอนุสาวรีย์ของนักเขียนรางวัลนาโอกิ คิเอโกะ วาตานาเบะ และอนุสาวรีย์ตัวอักษรโรมาจิที่เขียนโดย ดร.ทานาคะดาเตะ ไอคิทสึ เพื่อรำลึกถึงโรงไฟฟ้าโอบุจิ โรงไฟฟ้าแห่งแรกของนิโนะเฮะ  ■หน้าผาโอโฮกะเคะว่ากันว่าเกิดจากการยกตัวของภูเขาไฟใต้น้ำ จุดเด่นอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างชั้นหินอย่างกระทันหันที่กลางหน้าผา ที่ด้านบนของหน้าผากล่าวกันว่าเป็นหลุมฝังศพของ กาโม อุจิทสึนะ (หลานชายของ อุจิซาโตะ) ทหารจากกองทัพฝ่ายเหนือที่เสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยขณะต่อสู้ในการสู้รบครั้งแรกของกบฏคุโนะเฮะ
ที่อยู่
岩手県二戸市石切所字森合68
หมายเลขโทรศัพท์
0195-23-3641
เวลาเปิดทำการ
ราคา
เวลาที่จำเป็น
หมายเหตุ
มีถนนไปถึงยังจุดชมวิวหินเทพเจ้า (ไม่อนุญาตให้รถบัสขนาดใหญ่วิ่ง เนื่องจากถนนค่อนข้างคดเคี้ยว)

เว็บไซต์ข้อมูลข่าวสารการเดินทางและการท่องเที่ยวโทโฮคุ “ท่องเที่ยวโทโฮคุ“

การพิมพ์